เครื่องวัดการนำไฟฟ้าดิน - เครื่องวัด EC ดิน




เราสามารถวัดความเค็มดิน ได้จากการพิจารณาปริมาณความเข้มข้นของความเค็มที่วัดได้  ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นจะนิยมใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าในดิน ( EC ดิน ) มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดค่า   และใช้ในการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับพืชในแต่ละชนิด

การนำไฟฟ้าดิน ( EC ดิน ) มีหน่วยความเข้มข้นเป็น dS/m สามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดการนำไฟฟ้าดิน ( เครื่องวัด EC ดิน)
และสามารถแปลผลค่า EC ที่อ่านได้ ดังนี้
 

dS/m            

ระดับความเค็ม      

ความสัมพันธ์กับพืช
0 - 2  ไม่เค็ม   ไม่ส่งผลกระทบต่อพืช
2 - 4 เค็มเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อค่าความเค็ม
4 - 8 เค็มปานกลาง มีผลต่อการเติบโตของพืชหลายชนิด
8 - 16 เค็มจัด มีผลต่อการเติบโตของพืชส่วนใหญ่ ยกเว้นพืชที่สามารถเติบโตได้ดีกับสภาพเค็ม
>16 เค็มรุนแรง เป็นอันตรายต่อพืชทุกชนิด ยกเว้นพืชบางชนิด เช่น หญ้า เป็นต้น

การปรับปรุงดินเค็มเพื่อการเกษตร
จะต้องมีวิธีการปรับปรุงดินเค็มได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

1. การใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว ขี้เลื่อย ร่วมกับการไถพรวน
2 วางแผนปรับพื้นที่และคูระบายน้ำโดยปรับพื้นที่แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยทำคันดินรอบแปลงย่อยและทำคูระบายน้ำออกไปให้พ้นแปลงเพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน
3. จัดหาแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เช่น น้ำฝน น้ำชลประทาน ให้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
4. ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น โสนคางคก โสนอินเดีย หรือโสนนา เป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน
5. การใช้วัสดุคลุมดิน ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่ควรปล่อยให้หน้าดินว่างเปล่าเพราะจะเป็นการเร่งการระเหยของน้ำในดินซึ่งเท่ากับเป็นการเร่งการสะสมเกลือที่ผิวดิน การคลุมดินอาจใช้เศษพืช เช่น ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ จะช่วยป้องกันไม่ให้แดดส่องกระทบผิวดินโดยตรง จึงลดการระเหยของน้ำจากดินได้
6. การวางแผนระบบปลูกพืช ภายหลังเก็บเกี่ยวพืชแล้วถ้าดินยังมีความชื้นอยู่เพียงพอควรปลูกพืชที่สองตาม ซึ่งพืชที่ปลูกควรเป็นพืชทนเค็มและทนแล้ง เช่น มะเขือเทศ มันเทศ กระเจี๊ยบแดง คำฝอย และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
7. ใช้สารเคมีบางชนิดช่วยในการปรับปรุงดินเค็มเช่นยิบซั่มโดยคัลเซียมไอออน
(Ca2 +) จะเข้าไปแทนที่ โซเดียมไอออน (Na+) 
8. การเลือกพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน แสดงไว้ในตาราง


 

ความทนเค็มของพืชเศรษฐกิจบางชนิด

การนำไฟฟ้าของดิน
(เดซิซีเม็น/เมตร)
2 – 4
4 – 8
8 – 12
12 – 16
พืชสวน

 


พืชไร่

 

ไม้ผลและไม้โตเร็ว

 

 

ถั่วฝักยาว
ผักกาด
พริกไทย
แตงไทย
แตงร้าน
ถั่วเขียว
ถั่วเหลือง
ถั่วลิสง
ถั่วแขก
กล้วย
ลิ้นจี่
มะนาว
ส้ม
มะม่วง
บวบ
กะหล่ำดอก
กะหล่ำปลี
ผักกาดหอม
ข้าวโพดหวาน
ทานตะวัน
ปอแก้ว
ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง
ชมพู่
มะกอก
ทับทิม
ปาล์มน้ำมัน
ผักโขม
ผักกาดหัว
มะเขือเทศ
ถั่วพุ่ม

ข้าวทนเค็ม
คำฝอย
มันเทศ

มะยม
สมอ
ยูคาลิปตัส

 

12 – 16
หน่อไม้ฝรั่ง
คะน้า
กะเพรา
ผักบุ้งจีน
ชะอม
ฝ้าย

 

ละมุด
มะขาม
มะพร้าว
มะขามเทศ





 เครื่องวัด EC ในดิน รุ่น Hanna รุ่น HI98331 Soil Test
 
 
เครื่องวัดการนำไฟฟ้าดิน - เครื่องวัด EC ดิน ยี่ห้อ Hanna รุ่น HI98331 Soil Test ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้า และอุณหภูมิดินในเวลาเดียวกัน รวดเร็ว และแม่นยำ ใช้งานง่าย สามารถวัดค่าดินได้ด้วยตัวเองจึงเหมาะกับการตรวจวัดที่ต้องทำประจำโดยตรงในพื้นดิน ขาวัดมีความยาว 122 มม. สามารถถอด หรือเปลี่ยนขาอ่านได้  หัววัดค่า EC ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถเจาะลงไปในดินเพื่อตรวจสอบความนำไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับการวัดปริมาณแร่ธาตุ หรือสารอาหารในดิน
 
- ช่วงค่าการวัดถึง 4.00 mS/cm (dS/m) 
- เลือกแสดงค่า EC และอุณหภูมิได้ 
- ถอดเปลี่ยน หรือเก็บขาวัดค่าได้อย่างง่ายดาย 
- สามารถสอบเทียบค่า พร้อมระบบ ATC ปรับค่าตามอุณหภูมิอัตโนมัติ 
- มีฟังก์ชั่นค้างค่าหน้าจอ 
- มีสัญลักษณ์แบตเตอรี่ต่ำ และปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งาน 
 
Specification : 
- ช่วงค่าการวัด EC : 0.00 - 4.00 mS/cm 
- ความละเอียด EC : 0.01 mS/cm 
- ความแม่นยำ : +/-0.05 mS/cm (0.00 to 2.00 mS/cm),+/-0.30 mS/cm (2.00 to 4.00 mS/cm) 
- ช่วงค่าการวัดอุณหภูมิ : 0.0 to 50.0 องศาC 
- ความละเอียดอุณหภูมิ : 0.5 องศาC 
- ความแม่นยำ 0.5 องศา T องศา C 
- Temperature compensation Automatic, selectable from 0.0 to 2.4% / องศา C 
- แบตเตอรี่ขนาด 1.5 V x 4 
- ขนาด 163 x 40 x 26 มม. 
- น้ำหนัก 100 กรัม 
 
Visitors: 133,665