เครื่องวัดการนำไฟฟ้าดิน - เครื่องวัด EC ดิน
เราสามารถวัดความเค็มดิน ได้จากการพิจารณาปริมาณความเข้มข้นของความเค็มที่วัดได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นจะนิยมใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าในดิน ( EC ดิน ) มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดค่า และใช้ในการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับพืชในแต่ละชนิด
การนำไฟฟ้าดิน ( EC ดิน ) มีหน่วยความเข้มข้นเป็น dS/m สามารถวัดโดยใช้เครื่องวัดการนำไฟฟ้าดิน ( เครื่องวัด EC ดิน)
และสามารถแปลผลค่า EC ที่อ่านได้ ดังนี้
dS/m |
ระดับความเค็ม |
ความสัมพันธ์กับพืช |
0 - 2 | ไม่เค็ม | ไม่ส่งผลกระทบต่อพืช |
2 - 4 | เค็มเล็กน้อย | อาจส่งผลกระทบต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อค่าความเค็ม |
4 - 8 | เค็มปานกลาง | มีผลต่อการเติบโตของพืชหลายชนิด |
8 - 16 | เค็มจัด | มีผลต่อการเติบโตของพืชส่วนใหญ่ ยกเว้นพืชที่สามารถเติบโตได้ดีกับสภาพเค็ม |
>16 | เค็มรุนแรง | เป็นอันตรายต่อพืชทุกชนิด ยกเว้นพืชบางชนิด เช่น หญ้า เป็นต้น |
การปรับปรุงดินเค็มเพื่อการเกษตร
จะต้องมีวิธีการปรับปรุงดินเค็มได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด แกลบ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว ขี้เลื่อย ร่วมกับการไถพรวน
2 วางแผนปรับพื้นที่และคูระบายน้ำโดยปรับพื้นที่แล้วแบ่งเป็นแปลงย่อยทำคันดินรอบแปลงย่อยและทำคูระบายน้ำออกไปให้พ้นแปลงเพื่อลดระดับน้ำใต้ดิน
3. จัดหาแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เช่น น้ำฝน น้ำชลประทาน ให้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
4. ปลูกพืชบำรุงดิน เช่น โสนคางคก โสนอินเดีย หรือโสนนา เป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน
5. การใช้วัสดุคลุมดิน ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่ควรปล่อยให้หน้าดินว่างเปล่าเพราะจะเป็นการเร่งการระเหยของน้ำในดินซึ่งเท่ากับเป็นการเร่งการสะสมเกลือที่ผิวดิน การคลุมดินอาจใช้เศษพืช เช่น ฟางข้าว ซึ่งเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ จะช่วยป้องกันไม่ให้แดดส่องกระทบผิวดินโดยตรง จึงลดการระเหยของน้ำจากดินได้
6. การวางแผนระบบปลูกพืช ภายหลังเก็บเกี่ยวพืชแล้วถ้าดินยังมีความชื้นอยู่เพียงพอควรปลูกพืชที่สองตาม ซึ่งพืชที่ปลูกควรเป็นพืชทนเค็มและทนแล้ง เช่น มะเขือเทศ มันเทศ กระเจี๊ยบแดง คำฝอย และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
7. ใช้สารเคมีบางชนิดช่วยในการปรับปรุงดินเค็มเช่นยิบซั่มโดยคัลเซียมไอออน
(Ca2 +) จะเข้าไปแทนที่ โซเดียมไอออน (Na+)
8. การเลือกพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน แสดงไว้ในตาราง
ความทนเค็มของพืชเศรษฐกิจบางชนิด
การนำไฟฟ้าของดิน
(เดซิซีเม็น/เมตร) |
2 – 4
|
4 – 8
|
8 – 12
|
12 – 16
|
พืชสวน
ไม้ผลและไม้โตเร็ว
|
ถั่วฝักยาว
ผักกาด พริกไทย แตงไทย แตงร้าน ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแขก กล้วย ลิ้นจี่ มะนาว ส้ม มะม่วง |
บวบ
กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ข้าวโพดหวาน ทานตะวัน ปอแก้ว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ชมพู่ มะกอก ทับทิม ปาล์มน้ำมัน |
ผักโขม
ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม ข้าวทนเค็ม มะยม
|
12 – 16
หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กะเพรา ผักบุ้งจีน ชะอม ฝ้าย
ละมุด |
เครื่องวัด EC ในดิน รุ่น Hanna รุ่น HI98331 Soil Test