การวัดคุณภาพดิน

 


 
เราสามารถประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความผิดปกติของพืชที่แสดงออก  เนื่องจากการขาดธาตุอาหารซึ่งจะแสดงออกมาค่อนข้างชัดเจนและถือว่าเป็นโรคทางสรีระ เช่น แคระแกรน ยอดงอหยิก ใบเหลือง และใบไหม้

1.1 ลักษณะอาการพืชเมื่อขาดธาตู N

- พืชจะสูญเสียสีเขียวโดยเฉพาะที่ใบใบของพืชจะเหลืองผิดปกติ

- พืชบางชนิดจะมีลำต้นสีเหลือง บางทีก้มีสีชมพูเจือปนด้วย

- ใบของพืชที่อยู่ข้างล่างจะมีสีเหลืองปนส้ม ปลายใบ และขอบใบจะค่อยๆแห้ง และลุกลามเข้ามาเรื่อยๆจนในที่สุดใบจะร่วงหล่นก่อนกำหนด

- ลำต้นจะผอมสูง กิ่งก้านลีบเล็ก

- พืชจะไม่เติบโตหรือโตช้ามาก 

- ให้ผลผลิตต่ำ และมีคุณภาพเลว

ในกรณีที่มีการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป จะมีผลเสียหายแก่พืช

1. คุณภาพของเมล้ด ผลและใบจะเสื่อมคุณภาพ

2. พืชแก่ช้ากว่าปกติ เพราะไนดตรเจนส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตอยู่เรื่อย

3. ส่งผลให้ผลผลิตของพืชที่ให้เมล็ดลดลง เพราะในสภาพที่มีไนโตรเจนมาก พืชจะสร้างยอด ลำต้น กิ่งและใบมากกว่าการสร้างดอกและเมล็ด

4. ทำให้พืชพวกข้าวและข้าวโพดมีลำต้นอ่อนและล้มง่าย

5. ความต้านทานโรคลดลง

 

1.2 ลักษณะอาการพืชเมื่อขาดธาตุ P

ในดินส่วนมากจะมีฟอสฟอรัสอยู่น้อยไม่ค่อยมีเพียงพอแก่ความต้องการของพืชที่ปลูก เมื่อพืชขาดฟอสฟอรัสจะแสดงอาการ

1. พืชจะแก่ช้ากว่าปกติ ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็งแต่เปราะและหักง่าย

2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายลงไปในดินช้ากว่าปกติ

3. ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์จะแคระแกรน ถึงแม้ว่าต้นไม้จะดูเจริญเติบโตดี

4. พวกพืชโดยเฉพาะะัญพืชจะล้มง่าย

5. ใบและลำต้นของพืชบางชนิดจะมีสีม่วง

6. พืชบางชนิดจะมีดอกและผลที่เล็กผิดขนาด

เนื่องจากฟอสฟอรัสเป็นธาตืที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายในพืช  เมื่อพืชขาดธาตุนี้  ฟอสฟอรัสจะเคลื่อนจากใบแก่มาใบอ่อน  เพื่อให้ใบอ่อนเจริญเติบโต

เป็นปกติ พืชที่ขาดฟอสฟอรัสใบล่าง ๆจะแสดงอาการขาดก่อนใบยอด

 

1.3 ลักษณะอาการพืชเมื่อขาดธาตุ K

พืชที่ขาดธาตุนี้มักจะแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ขอบใบของพืชจะเหลืองแล้วกลายเป็นสีน้ำตาล  โดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าสู่กลางใบ และส่วนที่เป็นสีน้ำตาลก็จะแห้งเหี่ยวไป  พืชบางชนิดที่ใบจะมีจุดเหลืองๆ ทั่วไปหมดตามบริเวณปลายใบ  ใบที่แสดงอาการขาดะาตินี้มักจะเกิดขึ้นที่ใบล่างสุดก่อนแล้วค่อยลามขึ้นมาที่ใบชั้นบนที่อ่อนกว่า

2. พืชที่ขาดธาตุโปแตสเซียมจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ

3. พืชจะอ่อนแอมีความต้านทานโรคต่ำ

4. พืชพวกธัญญะพืชจะล้มง่าย ลำต้นอ่อน

5. พืชพวกย้ายใบจะมีสีน้ำตาลปนแดง

ในขณะเดียวกันพืชที่ได้รับปริมาณโปแตสเซียมมากจนเกินความต้องการก็เกิดผลเสียหายไป เช่น ทำให้พืชแก่ช้ากว่าปกติ ทำให้เนื้อขอพืชและผลไม้นุ่มและยุ่ย ยากต่อการเก็บรักษาไว้นาน ๆ


  • คุณสมบัติของน้ำ น้้าจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้้าการที่มีสารต่าง ๆ ละลาย ปะปนอยู่ในน้้า คุณสมบัติของน้้ามีรายละเอียดดังนี้ 1 คุณสมบัติทางกาย...

  • วิธีหนึ่งในการควบคุมการเกิดมลภาวะทางน้ํา ก็คือการไม่ผลิตสารมลพิษทางน้ํา หรือผลิตให้น้อยลงเท่าที่จะทําได้หากเกิดมลพิษทางน้ํำขึ้นแล้วจะต้องมีการกําจัดมลพิษ ในน้ําให้เหลือน้อยที่สุดกา...

  • ดัชนีคุณภาพน้ำ ค่ามาตรฐาน ความเป็นกรดและด่าง (pH)อุณหภูมิ มีค่าไม่เกิน 5.5 - 9.0ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส Total Dissolved Solids 1. ค่า TDS ไม่เกิน 3,000 มิล...

  • มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา พารามิเตอร์ หน่วยการวัด มาตรฐานคุณภาพน้ำ 1. คุณสมบัติทางกายภาพ สีปรากฏ (Apperancecolour) Pt-Co Unit 15 ความเป็นกรด-ด่าง (pH) - 6.5 - 8.5 ความขุ่น (...
Visitors: 125,802