การกำจัดน้ำเสีย






วิธีหนึ่งในการควบคุมการเกิดมลภาวะทางน้ํา ก็คือการไม่ผลิตสารมลพิษทางน้ํา
หรือผลิตให้น้อยลงเท่าที่จะทําได้หากเกิดมลพิษทางน้ํำขึ้นแล้วจะต้องมีการกําจัดมลพิษ
ในน้ําให้เหลือน้อยที่สุดการกําจัดน้ําเสียทําได้หลายวิธีดังนี้
 
 1. การกําจัดน้ําเสียโดยวิธธรรมชาติ  (self purification)
ในน้ําจะมีจุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจน ทําหน้าที่กําจัดสาร
มลพษในน้ำเสียอยู่แล้วโดยธรรมชาติการย่อยสลายสารมลพิษที่เป็นสารอินทรีย์โดย
แบคทีเรียทําให้ลดการเน่าเสียของน้ํำ หากมีการควบคุมจํานวนแบคทีเรียให้อยู่ในช่วงที่
เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป จนทําให้เกิดการขาดแคลนออกซิเจน หรือ
ไม่น้อยจนเกินไป จนเกิดการย่อยสลายไม่ทัน นอกจากนั้นยังต้องควบคุมปริมาณ
ออกซิเจนในน้ําให้มีมากพอ  โดยจัดการให้อากาศในน้ํามีการหมุนเวียนตลอดเวลา
เช่น จัดตั้งเครื่องตีน้ํำ หรือการพ่น 
อากาศลงในน้ําเป็นต้น
 
 2. การทําให้เจือจาง (dilution)
วิธีนี้เป็นการทําให้ของเสียหรือสารมลพิษเจอจางลงด้วยน้ําจํานวนมากพอ เช่น
การระบายน้ำเสีย ลงแม่น้ํำ ทะเล วิธีนี้ต้องคํานึงถึงปริมาณของเสียที่แหล่งน้ํำจะสามารถ
รับไว้ได้ด้วย นั่นคือจะต้องขึ้นอยู่กับปริมาตรของน้ํา ที่จะใช้ในการเจือจาง และขึ้นกับ
อัตราการไหลของน้ําในแหล่งนี้วิธีนี้จึงต้องใช้พื้นที่มาก ปริมาตรมาก จึงจะทําให้เกิด
ความเจือจางขึ้นได้ตามมาตรฐานสากลนั้นน้ําสะอาด ควรมีค่าบีโอดี 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
จึงใช้เป็นน้ําดื่มได้หากค่าบีโอดีมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือได้ว่าน้ํำนั้นมีโอกาสเน่า
เสียได้ส่วนน้ํำทิ้งจากแหล่งชุมชน และแหล่งอุตสาหกรรมมค่าสารแขวนลอย 30
มิลลิกรัมต่อลิตรและค่าบีโอดี 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นน้ําทิ้งเมื่อถูกเจือจางด้วยน้ําเสีย
จากแม่น้ําหรือทะเล 8 เท่าตัว จะทําให้ค่าบีโอดีไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงไม่มีความเน่าเสีย

 3. การทําให้กลับสู่สภาพดีแล้วนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle)
 วิธีนี้เป็นการทําน้ําเสียให้กลับมาเป็นน้ําดีเพื่อนํามาใช้ต่อไปได้อีก ส่วนใหญ่มักจะทำใน
โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งจะมีผลดีเกิดขึ้น คือลดปริมาณของเสียที่ปล่อยออกจากโรงงาน
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากนําน้ํ้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ซึ่งน้ํ้ำที่นํา
กลับมาใช้ใหม่นี้อาจมีคุณสมบัติด้อยกว่าน้ําที่ใช้ครั้งแรก ดังนั้นจึงนําไปใช้เป็นน้ํำทําความ
สะอาด รดต้นไม้เป็นต้น

 4. การควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ
 การควบคุมการปล่อยน้ํ้ำเสียลงสู่แหล่งน้ํำเป็นการป้องกันและลดการนําสาร
มลพิษลงสู่แหล่งน้ํา กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้กําหนด
มาตรฐานน้ําทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆให้มีค่าของสารแขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อ
ลิตร และค่าบีโอดี 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องตั้ง
อุปกรณ์กําจัดน้ํ้ำเสียและดําเนินการกําจัดน้ํ้ำเสีย ให้ได้มาตรฐาน ดังที่กําหนดไว้ก่อน
ปล่อยลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติ
การกําจัดน้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นการกําจัดสิ่งปนเปื้อนที่ทําให้น้ำ
เสียอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุดที่จะปล่อย ลงสู่แหล่งน้ํา ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวง
อุตสาหกรรมกําหนดมาตรฐาน น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่กาหนดให้
โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวง
อุตสาหกรรมของประเทศไทย
กําหนดได้ตามตารางมาตรฐานน้ําทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
 
 5. การบําบัดน้ําเสีย
 แหล่งน้ำที่เกิดน้ำเน่าเสียแล้ว จะต้องห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลของเสียลงในแหล่งน้ำ
นั้นอีก ทั้งนี้เพื่อให้เวลาน้ำเกิดกระบวนการกําจัดของเสียโดยวิธีธรรมชาติวิธีนี้ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นจึง
สามารถเร่งเวลาให้เร็วขึ้น ด้วยการเพิ่มปริมาณออกซิเจนเพื่อให้แบคทีเรียสามารถทํางานได้ดีขึ้น

 6. การกักเก็บของเสีย 
ระยะหนึ่งก่อนปล่อยออกจากแหล่ง  (detention)
วิธีนี้ของเสียจะมีการสลายตัวเองตามธรรมชาติในช่วงเวลาที่กักเก็บไว้ทําให้ปริมาณของเสีย









  • คุณสมบัติของน้ำ น้้าจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้้าการที่มีสารต่าง ๆ ละลาย ปะปนอยู่ในน้้า คุณสมบัติของน้้ามีรายละเอียดดังนี้ 1 คุณสมบัติทางกาย...

  • ดัชนีคุณภาพน้ำ ค่ามาตรฐาน ความเป็นกรดและด่าง (pH)อุณหภูมิ มีค่าไม่เกิน 5.5 - 9.0ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส Total Dissolved Solids 1. ค่า TDS ไม่เกิน 3,000 มิล...

  • มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา พารามิเตอร์ หน่วยการวัด มาตรฐานคุณภาพน้ำ 1. คุณสมบัติทางกายภาพ สีปรากฏ (Apperancecolour) Pt-Co Unit 15 ความเป็นกรด-ด่าง (pH) - 6.5 - 8.5 ความขุ่น (...

  • เราสามารถประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความผิดปกติของพืชที่แสดงออก เนื่องจากการขาดธาตุอาหารซึ่งจะแสดงออกมาค่อนข้างชัดเจนและถือว่าเป็นโรคทางสรีระ เช่น แคระแกรน ยอดงอหยิก ...
Visitors: 125,967