เครื่องมือวัดดิน - เครื่องวัดพีเอชดิน และ NPK ดิน

เครื่องวัดค่าดิน pH NPK ในดิน RAPITEST 1835 Digital 3 in 1 Soil ANALYZER Luster Leaf


ราคา 2,300 บาท

เครื่องวัดดิน Rapitest 1835 จะช่วยให้คุณสามารถวัดค่าดินเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นของพืชและใช้ในการปรับค่าเพิ่มหรือลดปุ๋ยสำหรับดินได้อย่างเหมาะสม   เนื่องจากธาตุ NPK เป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการอย่างสูงแต่ NPK จะมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อดินผ่านการ
เพาะปลูกมาสักระยะหนึ่ง  

ในส่วนของวัดค่าพีเอชดินและปุ๋ยในดิน NPK โดยรวม ครอบคลุมการวัดค่า pH ความอุดมสมบูรณ์ และอุณหภูมิของดินได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องและง่ายต่อการอ่านค่า  สะดวกและรวดเร็วในการตรวจสอบของคุณภาพดินด้วยการวิเคราะห์ในระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในการกำหนดการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับพืชของคุณ 

- สามารถอ่านค่าการแสดงผลได้ง่าย
- วัดค่า pH ดิน อุณหภูมิของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility)
- วัดค่าโดยรวมของ N P K
- มีระบบการชดเชยอุณหภูมิ
- ได้รับออกแบบและผลิตในสหรัฐอเมริกา
- อ่านค่า pH แบบอัตโนมัติขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของดิน

 


ข้อแนะนำในการใช้งาน

  • ก่อนที่คุณจะปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่ต้องการนั้น คุณควรทำการทดสอบสุ่มตัวอย่างดินทุกจุดให้มีการกระจายทั่วบริเวณแปลงทั้งหมด
    เพื่อให้แน่ใจว่าดินในแปลงของคุณมีความชื้นความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารและค่า PH ดินที่เหมาะสมเพียงพอกับระดับความต้องการในการเจริญเติบโตของพืชนั้น ๆ
  • พิจารณาว่าตรวจสภาพดินที่ดินไม่มีความชื้นมากไปหรือแห้งไปหรือไม่ หากพบว่าดินแห้งเกินไปให้ใช้น้ำราดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน
    และหลีกเลี่ยงการวัดดินในบริเวณที่มีน้ำขัง คอกเลี้ยงสัตว์ หรือบริเวณที่มีโอกาสปนเปื้อนจากสารเคมี
 
  • กำจัดเศษวัชพืชและพยายามหลีกเลี่ยงการปาดหน้าดินออกทั้งหมด
  • การเตรียมดินเพื่อใช้ในการวัด ให้แซะหน้าดินประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นให้ใช้จอบเจาะดินลึกลงไปอีก 5 นิ้ว เพื่อเก็บตัวอย่างดินในตำแหน่งนี้ขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจวัด คลุกดินให้เข้ากัน


  • ใช้โพรบจุ่มตรวจวัดลงไปในดินที่ระดับประมาณ 3 นิ้ว หมุนโพรบในทิศทางซ้ายและขวาสลับวนไปมาเพื่อให้รอหัววัดปรับค่าเพื่อแสดงค่าให้นิ่งก่อน จากนั้นอ่านค่าที่วัดได้จากหน้าจอแสดงผล  
  • สำหรับโหมดการทดสอบอุณหภูมิของดิน ให้เปิดเครื่องและเลือกโหมดอุณหภูมิ ใส่หัวโพรบวัดเข้าไปในดินที่ระดับความลึกประมาณ 3 นิ้ว รอหนึ่งนาทีเพื่อให้หัววัดปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพเครื่อง แล้วจดการอ่านค่าที่ได้ นำหัวโพรบวัดออกจากดิน
  • เปรียบเทียบค่าที่ได้จากจอแสดงผลกับตาราง เพื่อดูว่าค่าที่ได้นั้นอยู่ในช่วงใดและจำเป็นต้องปรับปรุงโดยเพิ่มหรือลดในส่วนของธาตุอาหารใดบ้าง
 
  • เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรเช็ดทำความสะอาดโพรบที่ใช้งานด้วยผ้าแห้ง เช็ดให้สะอาดในส่วนของบริเวณที่มีการสัมผัสกับดินตั้งแต่ปลายโพรบจนถึงด้ามจับ

 


 

Visitors: 125,960