เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ

การตรวจสอบคุณภาพน้ำ มีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด (พารามิเตอร์) เพื่อใช้ในการตรวจสอบโดยควรเลือกตัวชี้วัดที่มีความสำคัญหรือบ่งชี้ถึง คุณภาพน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบเบื้องต้นในการประเมินคุณภาพของน้ำว่าตรงตาม พรบ.กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ (มาตรฐานน้ำดื่ม และ มาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม) และมีความเหมาะสมในการใช้เพื่อบริโภคหรืออุปโภค


พารามิเตอร์ที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนการจัดการน้ำเสีย คือ บีโอดี (BOD) ค่าออกซิเจนในน้ำ (DO) ค่าพีเอชในน้ำ (pH) ของแข็งแขวนลอยไขมันและน้ำมัน ไนโตรเจน และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เป็นต้น

1. พีเอช (pH) เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดด่างของน้ำเสียโดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์จะดำรงชีวิตได้ดีในสภาวะที่เป็นกลาง คือ ค่าพีเอชอยุ่ในระหว่าง 6-8
2. บีโอดี (BOD) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถ้าค่า BOD สูง แสดงว่าความต้องการออกซิเจนสูง นั่นคือ น้ำมีความสกปรกหรือสารอินทรีย์ในน้ำมาก
3. ซีโอดี (ซีโอดี)
เป็นค่าที่แสดงค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีการทางเคมี มักใช้เทียบหาค่าบีโอดีคร่าว ๆ ปกติ COD : BOD ของน้ำเสียชุมชนประมาณ 2-4 เท่า 
4. ปริมาณของแข็ง (Solids) คือ ปริมาณสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียในลักษณ
ะที่ไม่ละลายน้ำและที่ละลายน้ำ ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำอาจสร้างปัญหาในการอุดตันและถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความสกปรกและตื้นเขินในน้ำธรรมชาติ
5. ไนโตรเจน (Nitrogen) ถ้าหากในน้ำมีออกซิเจนมากเพียงพอก็จะถูกย่อยสลายไปเป็นไนไตรท์และไนเตรท ดังนั้น การปล่อยน้ำเสียที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงจึงทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำลดน้อยล
6. ไขมันและน้ำมัน (Fat,Oil and Grease) ส่วนใหญ่ได้แก่ น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ที่ใช้ในการทำอาหาร สารเหล่านี้มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำ ทำให้ขวางกั้นการซึมของออกซิเจนจากอากาศสู่แหล่งน้ำ จะทำให้ค่า BOD สูง

 




1. คุณลักษณะทางกายภาพ


2. คุณลักษณะทางเคมี

 3. คุณลักษณะทางมลภาวะ              

  4.  คุณลักษณะทางสารเป็นพิษ


  5.  เครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำหลายพารามิเตอร์ - Multiparameter
Visitors: 125,795